วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร สอนการใช้วิทยาศาสตร์ประยุกต์
นำความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมีมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างหรือผลิตสารเคมี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ถือได้ว่าเป็นสาขาที่เรียนยากมากกว่าสาขาอื่นๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่แน่นอนว่าผลรับทางด้านรายได้เป็นที่พอใจใครหลายๆคนเลยทีเดียว แต่หากผู้ที่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ชอบการคิดค้นสิ่งใหม่ก็จะชอบและมีความสุขกับเรียนในสาขาวิศวกรรมเคมี เพราะก็เป็นความท้าทายกับตัวผู้เรียนเอง
วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มุ่งเน้นด้านการผลิตวัตถุสังเคราะห์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องมือ และเครื่องจักรที่ผ่านการออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณ การเรียนการสอนมีการจัดเรียงอย่างเป็นลำดับตั้งแต่ความรู้ทางเคมีพื้นฐาน การจำแนกสิ่งของหรือวัตถุในชีวิตประจำวันออกเป็นโครงสร้างทางเคมี ความรู้ด้านปิโตรเคมี และการแปรรูป การเป็นพิษ และการแก้พิษจากสารเคมีต่างๆ โดยการเรียนการสอนอยู่บนมาตราฐานความปลอดภัยต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม
เครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่โดดเด่น ห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้จัดสร้างห้องปฏิบัติการเคมีแห่งใหม่ขึ้นแทนห้องปฏิบัติการเก่าซึ่งมีขนาดที่เล็กเกินไป และขาดความทันสมัย ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการเคมีแห่งใหม่นี้สามารถรองรับนักศึกษาได้ถึง 200 คน อุปกรณ์เครื่องแก้วและเครื่องมือที่ใหม่และทันสมัยพร้อมทั้งระบบ ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับนักศึกษาโดยจะศึกษาทางด้านการปฏิบัติการเคมีอินทรีย์เคมีวิเคราะห์ และเคมีกายภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานทางด้านเคมีให้กับนักศึกษาวิศวกรรมเคมีในชั้นปีที่สูงขึ้นต่อไป
ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมเคมี ประกอบด้วยชุดเครื่องมือการทดลองปฏิบัติการหน่วยต่างๆ ที่ทันสมัยและได้มาตรฐานเพื่อใช้ใน การศึกษา การถ่ายโอนความร้อนการถ่ายโอน มวลสาร และจลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมี เช่น ชุดการทดลองการศึกษาการแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อสองชั้น ชุดการทดลองการสกัดของแข็งด้วยของเหลว ชุดการทดลองการดูดซึมและการคายแก๊ส ชุดการทดลองการกลั่น ชุดการทดลองการอบแห้งแบบพ่นฝอยชุดการทดลองการตกตะกอน ชุดการทดลองการระเหยแบบฟิล์มบาง ชุดการทดลองเครื่องปฏิกรณ์ เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติการเหล่านี้ ทำให้เข้าใจการทำงานจริง และเข้าใจทฤษฎีได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้นั้นไปออกแบบระบบและควบคุมระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีอยู่ในอุตสาหกรรมเคมีได้เป็นอย่างดี
อาชีพที่รองรับวิศวกรเคมี
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการผลิตอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ที่มีส่วนผสมทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นสินค้างทางด้านบริโภค หรืออุปโภค การผลิตไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ด้วยความเชี่ยวชาญในการควบคุมปริมาณ และความเข้าใจโครงสร้างการผลิตเป็นอย่างดี ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน การวิเคราะห์ผลจากการผลิต มีการเปิดตำแหน่งงานจำนวนมากรองรับวิศวกรเคมี
แนวทางประกอบอาชีพ
ภาคเอกชน ในส่วนของโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ เช่น กลุ่มโรงงานผลิตสารเคมี โรงกลั่นน้ำมันและกลุ่มโรงงานปิโตรเคมี เช่น (ptt, irpc, tpc, esso, caltex, thaioil เป็นต้น) โรงงานผลิตเบียร์และสุรา โรงงานผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ โรงงานนํ้าตาล แก้ว กระจก ปุ๋ย กลุ่มโรงงานอาหาร สี และพลาสติก กลุ่มโรงงานผลิตยา ตลอดจนกลุ่มโรงงานผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งหลาย ซึ่งทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ มีการลงทุนสูงและมีอัตราค่าแรงวิศวกรเคมีสูง
หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในส่วนของงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น กรมควบคุมมลพิษ องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงพลังงาน เป็นต้น ในฐานะผู้ให้คำแนะนำและรับผิดชอบทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม
สถาบันการเงิน เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเคมี
ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เป็นผู้ผลิตระดับ sme ในการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหรือเครื่องอุปโภคบริโภคแนวทางการศึกษาต่อปริญญาโทและเอก ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเป็นของตัวเองอย่ามองว่าวิศวกรรมเคมี หรือ เรื่องของเคมีเป็นเรื่องที่ไกลตัวและยากที่จะเรียนรู้ เพราะจริงๆแล้วเคมีก็เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา หากสนใจ มีความตั้งใจ และใฝ่รู้จริงๆ ก็ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ และทุกอย่างสามารถเป็นไปได้เสมอหากลงมือทำ